ยาเสียตัว

ยาเสียตัว
ยาเสียตัว รู้ไว้ไม่เสียใจ
ปัจจุบัน ภัยที่มาถึงตัวหญิงสาวมีหลายรูปแบบจากหลายแหล่ง
ทั้งจากเหล่ามิจฉาชีพ หรือแม้แต่เพื่อนสนิทที่ผู้หญิงให้ความไว้วางใจ
ด้วยความรักและวางใจนี้เอง นำมาซึ่งความสูญเสียและตราบาป
ที่หญิงสาวไม่ต้องการให้เกิด ผู้หญิงจะป้องกันภัย เหล่านี้ได้บ้างหรือเปล่า
ถ้าเธอได้รู้จักกับ “ยา” ที่คนใจโฉดนำมาใช้ มันถูกเรียกว่า “ยาเสียตัว”
คำว่า “ยาเสียตัว” เป็นคำที่เรียกกันในหมู่วัยรุ่นที่รักสนุก
หรืออาจเรียกว่า “ยาเสียสาว” เนื่องจาก ยานี้เมื่อกินเข้าไปแล้ว
จะทำให้มี ความกล้า ไร้สติ สะลึมสะลือ ระหว่างที่ยาออกฤทธิ์ก็จะจำอะไรไม่ได้
รู้ตัวอีกทีอาจอยู่ในสภาพถูกล่วงเกินทางเพศไปเรียบร้อยแล้ว
ชื่อสามัญของยาเสียตัวก็คือ อัลพราโซแลม และมีชื่อทางการค้าอีกกว่าสิบชื่อ
ได้แก่ Alcelam, Alinax, Alprax, Anpress, Anzion, Diazolam, Atlantic,
Marzolam, Pharnax, Siampraxol, Xanacine, Xanax, Xiemed
อัลพราโซแลมจัดอยู่ในยากลุ่มเบนโซไดอะซีพีน
ซึ่งแพทย์นิยมใช้เป็นยาลดอาการกังวล สงบประสาทและช่วยให้นอนหลับ
ยากลุ่มนี้มีหลายชนิด แพทย์จะเลือกใช้ในการบำบัดรักษาอาการ
ทางจิตประสาทที่เหมาะสมกับอาการของคนไข้
ช่วยในการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
โดยไปลดการทำงานของเซลล์ประสาทในสมอง
โดยยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ในทั้งประสาทส่วนกลาง และสมองส่วน ลิมบิก
ซึ่งเป็นศูนย์รวมแห่งอารมณ์และความพึงพอใจ
ถือเป็นยาที่มีความปลอดภัยเมื่อเทียบกับยาในกลุ่มอื่นๆ
แต่ก็อาจมีผลข้างเคียง และอาจติดยาได้หากใช้เป็นระยะเวลานานๆ
หากหยุดยาอย่างกะทันหันก็อาจเกิดอาการย้อนกลับ เช่น
วิตกกังวลอย่างรุนแรง กระวนกระวาย ชัก เป็นต้น
ยานี้ก็มีผลข้างเคียงที่อาจพบได้ โดยเกิดกับระบบต่างๆ ของร่างกาย
ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว ปวดหน้าอก ง่วงนอน การเคลื่อนไหวไม่ประสานงาน
กัน ตาแพ้แสง ความจำเสื่อมชั่วขณะ นอนไม่หลับ กังวล ซึมเศร้า ปวด ศีรษะ ผื่นขึ้น
ความต้องการทางเพศลดลง ปากแห้ง ท้องผูก ลดการหลั่งของน้ำลาย
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
เพิ่มหรือลดความอยากอาหาร พูดตะกุกตะกัก มองภาพไม่ชัด เหงื่อออกมาก
นอกจากนี้มีข้อควรระวังในการ ใช้งานคือ หากมีการหยุดยาทันที ทันใด
ก็จะเกิดอาการถอนยา อาจมี อาการชัก ที่สำคัญคือการใช้ยานี้ที่อาจทำให้เกิดการเสพติด
ทำให้เกิดอาการง่วงซึม หากรับประทานเกินขนาดจะทำให้ง่วงนอน สับสน
การตอบสนองของร่างกายลดลง และด้วยเหตุที่ยามีทั้งผลดีและผลเสียนี้เอง
ที่ทำให้มีการนำมาใช้ในทางที่ผิด
ช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ ยาอัลพราโซแลมมีการแพร่ระบาดในหมู่ วัยรุ่น
หมู่คนเที่ยวกลางคืนค่อนข้างมาก เนื่องจากยาจะช่วยคลาย
เครียด ทำให้เกิดความรู้สึกเคลิบเคลิ้ม คึกคัก
ทำให้รู้สึกเหมือนได้พ้นจากความทุกข์และความเจ็บปวด
มีแต่ความสนุกสนานอยู่ในจินตนาการ กล้าทำในสิ่งที่ไม่เคยกล้ามาก่อน
เกิดเป็นความสุขเพิ่มขึ้น โดยรับประทานแต่ละครั้งจะใช้ยา ถึงครั้งละ 2-3 เม็ด
ใช้เมื่อรวมกลุ่มสังสรรค์ ผนวกกับการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีฤทธิ์กดประสาท ยิ่งทำให้เสริมฤทธิ์ของยาขึ้นไปอีก

โดมิคุม อีกหนึ่งยามอมที่อันตรายกว่า
โดมิคุม (Dormicum)เป็น ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีพีนอีกตัว หนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด โดมิคุมเป็นชื่อทางการค้าที่คนทั่วไปรู้จัก แต่ชื่อสามัญของยาเสียตัวชนิดนี้ คือ มิดาโซแลม
นอกจากมิดาโซแลมจะมีชื่อ โดมิคุมแล้ว ยังมีชื่อการค้าอีกชื่อหนึ่งคือ มิดาโซล (Midazol) เป็นยากดประสาทอย่างแรง สามารถทำให้หลับได้ภายใน 5-10 นาที จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 ควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายโดยกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ไม่มีจำหน่ายตามร้านขายยา ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น
มิดาโซแลมจัดเป็นยานอนหลับ (Sedative-Hypnotic Drug) แพทย์จะใช้เพื่อให้คนไข้เกิดความสงบระงับก่อนการผ่าตัด เพื่อไม่ให้คนไข้รู้สึกตัว และสูญเสียความทรงจำขณะหลับ ไม่รับรู้เรื่องราวขณะผ่าตัด หรือสั่งจ่ายให้แก่ผู้ที่นอนหลับยาก ช่วยให้นอนหลับได้ดีและตื่นนอนได้ตามปกติ
กลไกการออกฤทธิ์ของยานี้ก็เป็นเช่นเดียวกับยาเบนโซไดอะซีพีน ตัวอื่นๆ ผลข้างเคียงของยานี้อาจ ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า มึน ซึม ปวดหัว เวียนหัว ง่วงซึม ง่วงนอนตอนเช้า เดินทรงตัวไม่ดี มีผื่นแพ้และอาจติดยาได้ง่าย และหากได้ รับยาเกินขนาด ยาจะกดการหายใจ ความดันต่ำ โคม่า หมดสติ หยุดหายใจชั่วขณะ
จากการที่มิดาโซแลมทำให้หลับได้อย่างรวดเร็ว มันจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่พวกมิจฉาชีพนำมาใช้ในทางที่ผิด ทั้งๆ ที่มีการควบคุมการใช้และการจำหน่ายอย่างเข้มงวด และมีบทลงโทษทั้ง ผู้ขาย ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้ครอบครอง ผู้เสพ ลดหลั่นกัน ลงไป เริ่มตั้งแต่จำคุก 1 – 20 ปี ปรับ ตั้งแต่ 20,000 – 400,000 บาท ส่วนบทลงโทษสำหรับผู้ที่จูงใจให้ผู้อื่นเสพ โดยเป็นการกระทำต่อสตรี หรือบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ อาจมีโทษสูงสุดถึงจำคุกตลอดชีวิตเลยก็ได้ แต่กระนั้นก็ยังมีการลักลอบซื้อขายกันในตลาดมืด ตามแหล่งบันเทิงยามราตรี ตามร้านขายยาที่ไร้จรรยาบรรณ รวมทั้งแหล่งซื้อขาย ออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต

alprazolam หรือ ยาเสียตัว
ยาอัลปราโซแลม (alprazolam) เป็นยากลุ่ม benzodiazepine
ที่ออกฤทธิ์สั้นหรือนานปานกลาง เช่นเดียวกับ lorazepam
มีชื่อทางการค้า เช่น zolam? , xanax? เป็นต้น
ใช้สำหรับรักษาอาการวิตกกังวล สงบระงับ และช่วยให้นอนหลับ
มีการดูดซึมยา ( t max) ภายใน 1-2 ชั่วโมง จับกับโปรตีนในพลาสมาได้ 67-72 %
และมีค่าครึ่งชีวิต 11.1 – 19 ชั่วโมง
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาอื่นๆ ที่พบ เช่น คลายกล้ามเนื้อลาย (muscle relaxants)
ต้านอาการชัก (antiepileptics) ทำให้สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ (anterograde amnesia)
ความสามารถในการเรียนรู้ และความจำลดลง
สมรรถภาพในการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญ หรือการตัดสินใจฉับพลันเสื่อมลง
เนื่องจากยานี้มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงมีผู้ที่นำยานี้
มาใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด เช่นที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ เป็นต้น
ขนาดและวิธีใช้ : ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ1/2 – 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
หรือตามแพทย์สั่ง ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยหนัก ควรลดขนาดยาลง
การติดยา การใช้ยากลุ่ม benzodiazepines ในขนาดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน
จะทำให้เกิดการ ติดยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ซึ่งถ้าหยุดยาทันทีจะเกิดอาการขาดยาหรือถอนยา
เช่น คลื่นไส้ นอนไม่หลับ มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว ซึมเศร้า เป็นโรคจิต
หรืออาจถึงกับชักได้ คำเตือนหรือข้อควรระวัง :
1. อาจทำให้ง่วงซึมไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรกล
หรือ ในที่สูง
2. ห้ามดื่มสุรา หรือสิ่งที่มีแอลกอฮอล์ผสมอยู่
3. อาจเกิดผลตรงข้ามกับฤทธิ์ของยาที่ให้ (paradoxical reaction)
4. อาจทำให้เกิดความผิดปกติของเม็ดเลือด ตับ หรือไตได้
5. สตรีมีครรภ์ สตรีระยะให้นมบุตร โรคต้อหิน โรคไมแอส ตีเนียแกรวีส (myasthenia gravis) โรคพอร์ไฟเรีย (porphyria) หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
6. ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากแพทย์สั่ง
7. หากใช้ร่วมกับยาอื่น เช่นยากดหรือกระตุ้นประสาท ยาคุมกำเนิด ยาต้านฮิสตามีน รวมทั้ง cimetidine ควรปรึกษาแพทย์
8. หากมีอาการนอนไม่หลับ ประสาทหลอน พฤติกรรมผิดปกติ กล้ามเนื้อเปลี้ย หรือมีไข้ ควรหยุดใช้ยาทันทีและรีบปรึกษาแพทย์
การกำกับดูแลตามกฎหมาย :
ยานี้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภทที่4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 การขายต้องมีใบสั่งแพทย์ โดยมีเภสัชกรควบคุมการจำหน่าย
การจัดทำรายงาน ผู้รับอนุญาต ต้องจัดให้มีการทำบัญชีรับ-จ่ายวัตถุออกฤทธิ์ และเสนอรายงานให้เลขาธิการทราบเป็นรายเดือนและรายปี บัญชีดังกล่าวต้องเก็บรักษาไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาขณะเปิดดำเนินการ
การกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย
– ผู้ผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
– ขายโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 50,000 บาท
– เภสัชกรไม่อยู่ควบคุมการขาย มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 50,000 บาท
——————————————————————————–
สุภาษิตสอนหญิงบทใหม่ ชั่วโมงนี้ต้องระวังยาเสียตัว
โดย ผู้จัดการออนไลน์

2 thoughts on “ยาเสียตัว”

  1. ยาเสียสาวยาเสียตัว
    ยาเสียสาว-ยาเสียตัว ไม่ใช่ชื่อใหม่ บรรดานักเที่ยวต่างรู้ดี
    และไม่อยากตกเป็นเหยื่อ

    http://www.love.matethai.com/lose/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7/

Leave a Reply