ทำเลค้ากามแห่งใหม่

ทำเลค้ากามแห่งใหม่
แฉ ลานรถไฟฟ้าใต้ดิน หัวลำโพง ทำเลค้ากามแห่งใหม่ หัวลำโพง
สำรวจ เด็กไทยด้อยโอกาส 7 กลุ่ม พบโรงเรียนรีดเลือดปู เรียกเก็บเงินบริจาค-บังคับซื้ออุปกรณ์เรียนแพงเกินจริง แฉ “ลานรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพง” ถูกแม่ค้าส้มตำริมคลองหลอดยึดเป็นทำเลค้ากามแห่งใหม่ หวังอัพราคากับลูกค้า

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิฯ จัดสัมมนาการคุ้มครองสิทธิทางการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส โดยนายชูพินิจ เกษมณี อาจารย์ประจำภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว กล่าวสรุปรายงานสถานการณ์การศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาสในสังคมไทย จากมุมมองภาคประชาสังคมว่า จากการสุ่มสำรวจเด็กด้อยโอกาส 7 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. ชนเผ่าพื้นเมือง เช่น ชาวไทยภูเขา มอแกน ชาวเล 2.ชุมชนแออัด 3.แรงงานข้ามชาติ จ.สมุทรสาคร 4.ชุมชนไกลคมนาคมในภาคเหนือและอีสาน 5.ชาวไทยพลัดถิ่นแนวชายแดนไทย-พม่า 6.เด็กไร้บ้าน เด็กเร่ร่อนสนามหลวง และ7.เด็กในสถานการณ์ความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่เดือนก.ย.50-ต.ค.51 พบว่าจาก 56 ชุมชน มี 4 ชุมชนที่ไม่มีโรงเรียน
“เมื่อ รัฐมีงบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารโรงเรียนก็ต้องหารายได้ที่ไม่สง่างาม เช่น การบีบให้ผู้ปกครองกรอกแบบฟอร์มบริจาคเงินแก่โรงเรียน บังคับซื้อเครื่องแบบอุปกรณ์เรียนราคาแพงเกินความเหมาะสม และจากการสำรวจพบพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กด้อยโอกาสร้อยละ 82 เป็นผู้ใช้แรงงาน เช่น ทำไร่ทำนา รับจ้าง ประมง ซึ่งมีรายได้ไม่ถึง 50,000 บาทต่อปี จึงได้รับความเดือดร้อนจากการเรียกเก็บเงินจากโรงเรียน รัฐจึงต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายให้เด็กอย่างแท้จริง” นายชูพินิจกล่าว
น.งสาวดวงใจ สายชมพู เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก กล่าวถึงเด็กในชุมชนแออัดวัดดวงแขหลังสถานีรถไฟหัวลำโพงว่า ส่วนใหญ่เป็นห้องเช่ารายวัน 70-100 บาท โดยคนขายผลไม้ หาบเร่แผงลอยบริเวณหัวลำโพง หรือเช่าเป็นกะ เช่น ครอบครัวทำงานกลางวันจะเช่านอนตอนกลางคืน และครอบครัวทำงานกลางคืนจะเช่าตอนกลางวัน โดยชุมชนมีทั้งปัญหาอบายมุข การพนัน ลักขโมย ยาเสพติด สื่อกระตุ้นทางเพศ และคนอาชีพแอบแฝง

“แม่ค้าส้มตำบางรายแอบแฝงขายบริการทางเพศริมฝั่งคลองหลอดตรงข้ามหัวลำโพง ตอนนี้มีทำเลใหม่บริเวณลานรถไฟฟ้าใต้ดินหัวลำโพงมีราคาแพงขึ้นกว่าริมคลอง หลอดแต่ตกลงราคากันได้ ส่วนหนึ่งเป็นผู้ปกครองเด็กในชุมชน โดยปัญหาชุมชนแออัดทำให้เกิดปัญหาครอบครัว เด็กไม่ได้เรียนหนังสือและมีครอบครัวตอนอายุน้อยเป็นวงจรซ้ำซาก ซึ่งรัฐควรเข้าไปช่วยแก้ปัญหา” นางสาวดวงใจกล่าว
นาง สาวรอมือละห์ แซเย๊ะ เจ้าหน้าที่มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย กล่าวถึงเด็กไทยมุสลิมในภาคใต้ว่า เด็กในพื้นที่ไม่ได้รับการศึกษา เนื่องจากเหตุไม่สงบในภาคใต้ ทำให้ผู้ปกครองยากจนยิ่งประสบปัญหาหนัก ส่วนคนที่มีที่ดินก็ออกมาทำมาหากินไม่ได้ ทำให้ขาดรายได้ในการส่งเสียบุตรหลาน เด็กเรียนจบแค่ป.6 ก็ต้องเลิกเรียน ประกอบกับบ้านอยู่ไกลโรงเรียน ครูไม่ให้ความสำคัญกับเด็กและโรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์ทำให้เกิดปัญหาทางการ ศึกษากับเด็กอย่างมาก

นางสาวมนัญชยา อินคล้าย เจ้าหน้าที่มูลนิธิรักษ์ไทย กล่าวถึงเด็กแรงงานข้ามชาติจังหวัดสมุทรสาครว่า แรงงานทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนในพื้นที่ 76,059 คน เป็นพม่า ลาว และกัมพูชา แต่ประเมินจากจำนวนที่แท้จริงมีมากกว่า 3 แสนคน โดยเป็นเด็กแรกเกิด-14 ปี ประมาณ 3,000 คน แรงงานเด็กจะตามพ่อแม่ผู้ปกครองอาศัยตามห้องเช่าเล็กๆที่ต้องอยู่ร่วมกัน 6-10 คน เด็กต้องไปช่วยพ่อแม่ทำงาน ประกอบกับพูดภาษาไทยไม่ได้และอายุเกินจึงไม่ได้รับการศึกษา ทั้งยังถูกละเมิดทางเพศระหว่างเด็กกับเด็กและคนไทยที่ไปละเมิดเด็กแต่กลับ ไม่ถูกลงโทษ
ขอขอบคุณข้อมูลจากคมชัดลึก

ขาย ร่างกาย หรือ ขายส้มตำ
ฉันขาย ร่างกาย หรือ ขายส้มตำ แถวหน้าหัวลำโพง?
เป็นข้อสงสัยกันมานานหลายปีสำหรับแม่ค้าหน้าหวานที่ขายส้มตำอยู่บริเวณหน้าหัวลำโพงว่าตกลงแล้ว เขาเหล่านี้ขายอะไรกันแน่!

หลาย คนอยากรู้ ดิฉันก็อยากรู้ค่ะ ว่าความเป็นจริงแล้วมันคืออะไร ….. เมื่อประมาณปี2545 ทีมข่าวรายงานพิเศษ คมชัดลึก ได้ไปแกะรอยถึงเรื่องนี้มา สรุปว่าบรรดาแม่ค้าเหล่านี้ เขามีอาชีพหลักคือขายร่างกาย
แต่ณ วันนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป (หรือเปล่า) ด้วยความอยากรู้อยากเห็นจึงได้ ลงพื้นที่เอง วันแรก ดิฉันลงไปนั่งสั่งส้มตำมาทาน ..ขอบอกค่ะว่ากินแทบไม่ได้เลย เหมือนเขาไม่ได้เตรียมตัวมาขายส้มตำยังไงอย่างนั้น ช้อนส้อมก็เปรอะไปด้วยสนิม รสชาติส้มตำเต็มไปด้วยผงชูรส ผิดกับหน้าตาแม่ค้าราวฟ้ากับดิน พยายามให้เพื่อนชายที่มาด้วยกันอีก 3คน ช่วยกันถามถึงเรื่องการขายบริการ แต่ไม่เป็นผลค่ะ แม่ค้าหน้าหวานของเราบอกเพียงว่า “ถ้าขายต้องยกไปทั้งหาบ แล้วจากนั้นไปนั่งร้องคาราโอเกะต่อ ถ้าถูกใจอยากจะไปต่อที่อื่นก็ค่อยต่อรองกันอีกที”

วัน ต่อมาดิฉันยังไม่ลดความพยายาม ได้ยกหูคุยกับสารวัตรสืบสน.ปทุมวัน ถามถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้ ได้คำตอบมาว่า เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจไปจับอะไรเขา เพราะอาชีพที่เห็นๆกันอยู่คือขายส้มตำ เขาไม่ได้ทำผิดซึ่งหน้า ทางเจ้าหน้าที่ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะเข้าจับกุม (ถูกกกก…)
หลัง จากนั้นดิฉันได้ติดต่อไปยัง รองผกก.สน.นพวงศ์ เนื่องจากก่อนหน้านี้ บรรดาแม้ค้าหน้าหวานเคยขายส้มตำอยู่ในเขตพื้นที่สน.นพวงศ์ กระทั่งโดนจับบ่อยจึงย้ายมาขายในพื้นที่รับผิดชอบของสน.ประทุมวัน

” เมื่อหลายปีก่อน ผมยอมรับว่ามันมีอยู่จริง ทางสน.นพวงศ์ได้ตรวจตราจับกุมแท้ค้าเหล่านี้จนกระทั้งหนีไปอยู่ในเขตพื้นที่ สน.ปทุมวัน การที่ผมจะเข้าไปให้ความร่วมมือในการจับกุมจึงเป็นไปได้อยาก เพราะมันอยู่นอกเหนือเขตรับผิดชอบของผมครับ ”
วัน เดียวกัน ดิฉันลงทุนจ้างคนขับรถสามล้อ ในราคา 500 บาทให้ไปนั่งพูดคุยภาษาเดียวกันกลับแม่ค้า ทุกอย่างเป็นไปได้ดีค่ะ แม่ค้ายอมคุยด้วย และเปิดใจพูดอะไรๆออกมาบ้าง คนขับรถตุ๊กๆเล่าให้ฟังว่า เมื่อไปถึง เขาได้สั่งของกินจำพวกเหล้าเบียร์ อาหาร แต่ปรากฏว่า ร้านแม่ค้าหน้าหวานไม่มีค่ะ แม่ค้าหน้าหวานของเราต้องไปสั่งร้านอื่น ดังนั้นคนขับตุ๊กๆจึงต้องหันมาสั่งยาดอง นานาชนิด ที่แม่ค้าหาบมาขาย

ถือ ว่าเป็นไปตามคาดค่ะ เมื่อคุณลุงคนขับตุ๊กๆ ทำสำเร็จ เพราะสามารถล้องข้อมูลมาได้เกือบหมด การค้นหาของดิฉันจึงถึงตอนจบสักที (แม้จะจบแบบไม่ลงตัวก็เถอะ) คุณลุงสามารถทำให้แม่ค้าหน้าหวานเปิดใจคุยกับดิฉันได้
พี่ดาว อายุ34 ปี เป็นแม่ค้าที่ขายส้มตำอยู่ในระแวกนั้น เปิดเผยว่า ทุกวันนี้ก็ขายส้มตำกันตามปกติ ถ้าใครอยากจะซื้อตัวไปด้วย ก็ต้องเหมาไปทั้งหาบ ต้องเอาหาบที่ตนใส่ของมาขายขึ้นรถตุ๊กๆ หรือรถแท๊กซี่ไป จากนั้นก็ไปนั่งร้องคาราโอเกะกัน ตามร้านต่างๆ ค่าเหมาหาบอยู่ที่ราคา 1500 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนขับรถแท๊กซี่ รถตุ๊กๆ หรือไม่ก็พวกคนใช้แรงงาน ตามย่านนี้ หลังจากที่ไปร้องคาราโอเกะกันเสร็จ มันขึ้นอยู่กับความพอใจว่า เราจะไปต่อกับลูกค้าหรือไม่

มันไม่แพงไปเหรอค่ะ 1500 สำหรับผู้ที่มาใช้บริการ ดิฉันถาม ?
” ไม่แพงหรอกน้อง พี่ต้องไปนั่งกับเขาทั้งคืนนะ บางคืนแทบไม่มีใครเรียกพี่ไป ก็ต้องนั่งขายส้มตำจนดึกดื่น แต่ส่วนมากพี่จะไปกับขาประจำ ใครแปลกหน้ามา พี่จะไม่ค่อยใส่ใจ เพราะกลัวว่าเขาจะเปป็นสายให้ตำรวจ ”

ถามจริงๆพี่ มีรึเปล่าที่แบบว่า ลูกค้ามาขอซื้อบริการตรงๆแล้วเราก็ไปกับเขาโดยไม่ต้องไปร้องคาราโอเกะ ?
” มีค่ะ แต่ต้องเป็นคนที่สนิดจริงๆเท่านั้น ครั้งละ 500 บาท ค่าโรงแรมแขกต้องเป็นคนจ่าย แต่ก็มีไม่มาก เพราะลูกค้าประจำส่วนใหญ่ จะมานานๆครั้ง ”

เคยโดนตำรวจจับบ้างมั้ย?
” เคยโดน ตั้งแต่สมัยอยู่ในเขตพื้นที่สน.นพวงศ์ พอย้ายมาอยู่ในพื้นที่สน.ปทุมวัน ก็ไม่ค่อยโดนจับ อาจเป็นเพราะ สน.กับทีๆพี่ขายของ มันอยู่ห่างกัน ….แต่ก็เคยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาล้อซื้อนะ ซึ่งพี่ก็ไม่หลงกล เขาขอเหมาหาบก็แบกมันไปทั้งหาบ ไปนั่งร้องเพลงร้านคาราโอเกะกัน”

พี่จะทำอาชีพนี้ไปอีกนานรึเปล่าค่ะ ?
” พี่แก่แล้ว ทำอาชีพอื่นไม่ได้ ความรู้ก็ไม่มี อยากให้เจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องเห็นใจบ้าง หลายคนว่าพี่ขายส้มตำบังหน้า จริงๆแล้วส้มตำก็ทำรายได้ให้พี่ไม่น้อยเลยนะ ในแต่ละคืน”

ทำไมช้อนส้อมร้านพี่ถึงขึ้นสนิมค่ะ ?
” พี่ไม่ค่อยได้ขายเอง จะกินเปอร์เซ็นจากร้านข้างๆ เดินไปสั่งให้เขาแล้วบวกราคาเพิ่ม ช้อนซ่อมพี่เลยไม่ได้ซื้อมาใหม่เดี๋ยวพรุ่งนี้พี่จะไปซื่อ ”

จริงมั้ยที่มีคนบอกว่า คนที่มาขายของที่นี้ มีผู้ชายมาคอยดูแลและเก็บค่าหัว?
” เรื่องนี้พี่ไม่ขอพูดนะ มันนอกเหนือจากเรื่องของพี่ไปแล้ว เอาเป็นว่า ถ้าอยากรู้น้องไปถามร้านอื่นแล้วกัน พี่ให้ข้อมูลได้เท่านี้ ”

พี่มีครอบครัวรึเปล่าค่ะ?
” มี ลูกชาย 2 คน อยุ่ต่างจังหวัดกับยาย ส่วนพ่อของลูกเลิกกันไปหลายปีแล้ว เขาไม่ได้ส่งเสียอะไรเลย พี่ต้องรับผิดชอบค่าเรียนลูก และค่าเลี้ยงดูแม่ ภาระทุกอย่างตกอยู่กับพี่คนเดียว ”

พี่พักอยู่ที่ไหน ?
“พักอยู่ห้องเช่า แถววงเวียน 22 เป็นห้องเล็กๆ ไว้พอซุกหัวนอนไปวันๆ จะเอาไว้อยู่เฉพาะช่วงกลางวัน ส่วนกลางคืน จะออกมาขายส้มตำ”

โชคดีที่ได้พูดคุยค่ะ ถึงแม้ว่าข้อมูลในวันนี้จะไม่แน่นเท่าไหร่ นัก แต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง สำหรับคนที่ไม่เคยรับรู้
และ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ปทุมวัน คงจะกระจ่างกับข้อมูลทั้งหมดที่ดิฉันได้รับรู้มา ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เจ้าหน้าที่ไปรับอะไรจากแม่ค้าส้มตำหรือ พวกผู้ชายที่คอยคุมแม่ค้ารึเปล่า ถึงได้ให้ความร่วมมือกับเรื่องนี้น้อยจริงๆ

นู๋เพลงค่ะ…
ที่มา http://www.oknation.net/blog/print.php?id=103487

Leave a Reply