เซ็กส์เพศสัมพันธ์วัยรุ่น

เซ็กส์เพศสัมพันธ์วัยรุ่น
วัยรุ่นกับเพศสัมพันธ์ – เพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
เซ็กส์กับวัยรุ่น เหตุติดเชื้อได้ง่ายเพราะเปลี่ยนคู่นอนเร็ว

ประชากรในประเทศไทยมีประมาณ 70 ล้านคน
ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ10 เป็นวัยรุ่นที่อายุน้อยกว่า 19 ปี
จากการสำรวจของสำนักสถิติแห่งชาติในปี คศ.2003
พบว่าครอบครัวเดี่ยวมีปริมาณเพิ่มขึ้นโดย
ในขณะนี้ร้อยละ10 ของครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว
และในจำนวนนี้ร้อยละ30 เป็นครอบครัวเดี่ยว
ประเภทที่แม่เป็นผู้ปกครองเพียงคนเดียว
และอีกร้อยละ30 เด็กวัยรุ่นต้องใช้ชีวิตตามลำพัง

พฤติกรรมเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น
จากรายงานสำรวจของสถาบันประชากรและสังคม
ร่วมกับสำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในปี คศ.2003
พฤติกรรมทางเพศสัมพันธุ์ของวัยรุ่นในประเทศไทยพบว่า
อายุเฉลี่ยของวัยรุ่นที่เริ่มมีเพศสัมพันธุ์ครั้งแรกคือ อายุ 16 ปี
และจากข้อมูลของดร.อมรวิช นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ
ในรอบปี 2548-2549 ในเด็กมัธยมถึงอุดมศึกษา
พบว่ามีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 เป็นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา
และในกลุ่มนี้ร้อยละ 30 เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว
ในขณะที่การแต่งงานช้าลงโดยเฉลี่ยอายุ 24 ปี
จะเห็นได้ว่าช่องว่างที่เกิดขึ้นจากค่าเฉลี่ยของ
การเริ่มมีเพศสัมพันธ์กับการแต่งงานราว 8 ปีนี้
สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์มากขึ้นและยาวนานขึ้น
และเป็นการมีเพศสัมพันธ์แบบขาดความรับผิดชอบ(sex without responsibilities)
หรือ สังคมยังไม่ยอมรับ โดยมีปัจจัยที่เป็นเหตุกระตุ้นหลายประการเช่น
การเข้าวัยรุ่นที่เร็วขึ้น การกระตุ้นโดยสื่อที่ไม่เหมาะสม
ทำให้ปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์
และผลของการกระทำทวี ความรุนแรงและสลับซับซ้อนมากขึ้นเห็นได้จาก
การหย่าร้างที่เพิ่มขึ้นหรือฝ่าย ชายทิ้งไปปล่อยให้ฝ่ายหญิงแบกรับภาระ
และความเครียดทั้งหมด

การ ทำแท้งเถื่อนที่เพิ่มมากขึ้นแม้ว่าไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน
แต่จากการรายงานภาวะ แทรกซ้อนจากการทำแท้งเถื่อนของโรงพยาบาลต่างๆ
ทำให้คะเนได้ว่าในแต่ละปีมีวัยรุ่นที่ทำแท้งประมาณ 2-3 แสน รายต่อปี
นอกจากนี้มารดาวัยรุ่นที่เครียดและหาทางออกของตนเองไม่ได้ก็ทิ้งลูกหรือทำร้ายลูก
เช่นฆ่าลูกโดยปรากฎทางหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 30 รายต่อปี
การให้องค์ความรู้ ทักษะและการปฎิบัติต่อพฤติกรรมทางเพศหรือเพศศึกษา
ยังไม่เข้มแข็ง โดยพบว่าเพศศึกษาในวัยรุ่นเริ่มช้าอายุเฉลี่ยราว 14 ปี
ในขณะที่วัยรุ่นได้ข้อมูลส่วนใหญ่จากเพื่อน และสื่อเช่นอินเทอร์เนต
ประมาณร้อยละ60

การ รู้จักป้องกันตนเองไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธุ์
หรือการป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัย
(ปัจจุบันพบ่วาวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธุ์ใช้ถุงยางอนามัยเพียงร้อยละ20 )
การใช้ยาคุมกำเนิด ยังอ่อนแอและเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมาก
จนทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศใน ลำดับต้นๆ
ของเอเชียที่มีปัยหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และวัยรุ่นคลอด ลูก ( จากข้อมูลของUNICEF ในปี คศ.2003 พบ่วาค่าเฉลี่ยวัยรุ่นไทยคลอดลูกอยู่ที่ 70 ต่อพันคนของหญิงวัย 15-19 ปี ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 90 ต่อพัน หรือวันละ เกือบ 200 คน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วทวีปเอเชียอยู่ที่ 56 ต่อพันคนของหญิงวัย 15-19 ปี และค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 65 ต่อพันคนของหญิงวัย 15-19 ปี )และวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 15 ปี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อเทียบกับ 2-3 ปีที่ผ่านมา วัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเพศสัพันธ์มากกว่า ร้อยละ60 ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี ของการมีพฤติกรรมทางเพศสัมพันธ์ ในขณะที่วัยรุ่นกลุ่มนี้โดยส่วนใหญ่เริ่มควานหาความช่วยเหลือเพื่อป้องกันตน เองเมื่อมีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์มาแล้ว เกิน 1 ปี แล้วแทบทั้งสิ้น

นอกจากนี้ปัญหาโรคเอดส์ในวัยรุ่นก็เป็นอีกปัญหาที่น่าสนใจและน่าเป็นห่วง กล่าวคือวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี ราว 60,000 คนที่กำลังติดเชื้อเอดส์มาจากพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธุ์โดยขาดการป้องกันและเป็นสาเหตุการตายของวัยรุ่นในลำดับที่ 2 รองจากอุบัติเหตุ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธุ์ก็มีอุบัติการณ์มากในวัยรุ่นอายุ 15-19 ปีเช่นกันไม่ว่าจะเป็นหนองในแท้(Gonorrhea) หรือหนองในเทียม(C.Trachomatis) แม้ว่าหลายรายมักไม่มีอาการแต่หากปล่อยไว้นอกจากจะทำให้การติดต่อของโรคนี้ แพร่หลายแล้วยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพของวัยรุ่นเองด้วยเช่น ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง การมีบุตรยาก ท้องนอกมดลูกรวมไปจนถึงมะเร็งปากมดลูก

ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้สำรวจในปีคศ.2003 เชื้อหนองในเทียมในทุกกลุ่มอายุพบว่า วัยรุ่นอายุ 15-19 ปี พบมากที่สุด โดยพบ 2,536 คนต่อประชากรวัยนี้แสนคน และยังสำรวจพบว่าเชื้อหูดหงอนไก่( Human Pappiloma virus) ที่ เป็นต้นกำเนิดของการเป็นมะเร็งปากมดลูกก็มีความสำคัญในวัยนี้เช่นกัน กล่าวคือในเด็กวัยรุ่นที่ยังไม่พบเชื้อนี้หากมีเพศสัมพันธุ์โดยขาดการ ป้องกันภายใน3 ปี พบว่าจะตรวจพบเชื้อนี้ประมาณร้อยละ55 ของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก แม้ว่าในวัยรุ่นเชื้อนี้โดยส่วนใหญ่ร่างกายสามารถขจัดได้ในระดับหนึ่งแต่ก็ ยังมีความสำคัญต่อการเป็นจุดตั้งต้นการเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เช่นกัน

วัยรุ่น อายุ15-19 ปี มีโอกาสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากที่สุดมากกว่าวัยอื่นๆกล่าวคือ ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์คือวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี นั้นเอง และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์คือ หนองใน หนองในเทียม เอดส์ เชื้อไวรัสก่อมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

เหตุผลที่วัยรุ่นติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ง่ายมากที่สุดเพราะ
จำนวนคู่นอนที่มีการเปลี่ยนเร็วและบ่อยมาก
ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์
ขาดการป้องกันเช่นการใช้ถุงยางอนามัย

ลักษณะ สรีระของฝ่ายผู้หญิงวัยรุ่นที่อ่อนแอ โดยปากมดลูกเผยอออกเปิดให้รับเชื้อโรคได้ง่ายมาก ประกอบกับสภาพความเป็นกรดที่มีน้อยในช่องคลอดเมื่อเทียบกับช่องคลอดของ ผู้หญิงที่อายุมากขึ้นทำให้ลดความสามารถในการฆ่าเชื้อโรค

ขาดการดูแลรักษาอย่างทันทีเพราะอับอายและไม่มีเงินต้องขอพ่อแม่ ซึ่งยิ่งเพิ่มแรงกดดัน

กลัวความลับถูกเปิดเผยทำให้ไม่อยากแม้แต่การปรึกษาหรือการสร้างทักษะป้องกันตนเอง

เริ่มเข้าวัยรุ่นที่อายุ 10 ปี หญิงเริ่มมีประจำเดือน อายุ 12.5 ปี ชายเริ่มหลั่งอสุจิที่อายุ 14 ปี ค่าเฉลี่ย

การมีเพศสัมพันธ์ในชายอายุ 15 ปี และหญิงที่อายุ 16 ปี ทำให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้มาก
ขึ้นประกอบกับการแต่งงานที่ช้าขึ้น ทำให้การมีเพศสัมพันธ์โดยที่สังคมไม่ยอมรับและ ขาดความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้น

4 มาตรการที่ สหรัฐอเมริกา ญิปุ่น ฮอลแลน สวิสเซอร์แลนด์ใช้เพื่อลดปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์คือ
1. กลยุทธ การรักนวลสงวนตัว Abstinence
2.กลยุทธการสร้างทักษะการป้องกันตัวเองให้กับวัยรุ่นโดยเฉพาะการรณรงค์ใช้ ถุงยางอนามัยทุกครั้ง (Safe sex ; No condom No sex ,ทักษะการใช้ยาคุมกำเนิด)
3.การทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย
4.หน่วยงานความช่วยเหลือรวมทั้งระบบโรงเรียน ครอบครัว และสังคม

ทิศทางของประเทศไทยเพื่อลดปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์คือ
1. กลยุทธ การรักนวลสงวนตัว Abstinence
2.กลยุทธการสร้างทักษะการป้องกันตัวเองให้กับวัยรุ่นโดยเฉพาะการรณรงค์ใช้ ถุงยางอนามัยทุกครั้ง (Safe sex ; No condom No sex ,ทักษะการใช้ยาคุมกำเนิด)
3.หน่วยงานความช่วยเหลือรวมทั้งระบบโรงเรียน ครอบครัว และสังคม
4 สิ่งท้าท้ายสังคมยุคใหม่

กลยุทธการสร้างคุณภาพวัยรุ่น
กลยุทธ์ ในการสร้างคุณภาพวัยรุ่นมีหลายประเทศให้ความสำคัญ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนด 40 ดัชนีชี้วัดคุณภาพวัยรุ่น พร้อมๆ กับสร้างเทคนิคให้กับผู้ที่ดูแลวัยรุ่นให้มีทักษะในการเพิ่มประสิทธิผลให้ วัยรุ่นผ่านเกณฑ์ให้มากที่สุดเครื่องมือนี้ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลายในอเมริกา เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 โดยสถาบันวิจัยในอเมริกา สำรวจ ในวัยรุ่นราว 3- 4 แสนคน และพัฒนาขึ้นมาเป็น 40 ดัชนีชี้วัดคุณภาพวัยรุ่น ในหลายรายงานการศึกษาของอเมริกาพบว่าวัยรุ่นหรือครอบครัวที่ผ่านเกณฑ์เกิน 20 ตัวชี้วัด โอกาสที่วัยรุ่นจะล่อแหลมต่อพฤติกรรมก็จะยิ่งน้อยลง และหากผ่านเกณฑ์เกิน 30 ตัวชี้วัด แทบจะสรุปได้เลยว่า ครอบครัวเข็มแข็ง เยาวชนแข็งแรง ลดปัญหาสังคมลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

รายงานการวิจัยของ Search-Institute ในสหรัฐอเมริกา ปี คศ. 2000 พบความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดคุณลักษณะของคุณภาพวัยรุ่น ที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ในเยาวชนเกี่ยวข้องอยู่ 3 ข้อซึ่งเป็นปัจจัยเสริมจากภายนอก(External Asset) ดังนี้

1. การใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ( Constructive use of time )
1.1 วัยรุ่นมีกิจกรรมสันทนาการนอกหลักสูตร ? 3 ชม. / สัปดาห์ ( Creative Activities )
1.2 วัยรุ่นมีการเล่นกีฬาออกกำลังกาย ? 3 ชม. / สัปดาห์ ( Youth Programs )
1.3 กิจกรรมทางศาสนา ? 1 ชม./ สัปดาห์ ( Religious Community )
1.4 การมีนัดกับเพื่อน นอกบ้าน เวลากลางคืน ? 2 ครั้ง / สัปดาห์ ( Time at home )

2. การได้รับการสนับสนุน ( Support )
2.1 ครอบครัวให้การสนับสนุนด้วยความรักและผูกพัน ( Family support )
2.2 สมาชิกในครอบครัวให้กำลังใจซึ่งกันและกันและปรึกษาได้ทุกเรื่อง
( Positive family communication)
2.3 มีผู้ใหญ่นอกเหนือจากครอบครัวที่ให้การสนับสนุนมากกว่าหรือเท่ากับ 3 คน
(Other adult relationships)
2.4 ได้รักการติดตามเรื่องการเรียนเป็นอย่างดี จากผู้ปกครองทั้งคำแนะนำสื่อการเรียน
สั่งสอน และติดตามการประเมิน ( Parental connectedness )

3.ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดี (Adult role model) กลุ่มเพื่อนที่เป็นแบบอย่างที่ดี ( Positive peer Influence )
ทางออกเพื่อไม่ให้ทารกถูกทำร้ายหรือทอดทิ้งจากกรณีท้อง

หลักการและเหตุผล
จากการเห็นวัยรุ่นมีปัญหาหลากหลาย ตั้งแต่ปี 2547 มีปัญหาการฆ่าตัวตาย ปัญหาการทำแท้ง ข่าวเด็กทารกถูกทำร้ายเสียชีวิตมีเพิ่มขึ้นทุกวัน เด็กทารกถูกทอดทิ้ง 500-600 ราย อัตราการฆ่าเด็กทารก 30 ราย/ปี ขณะนี้ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลที่แท้จริงได้เนื่องจากมีจำนวนมาก

การแก้ปัญหาเชิงรุกเชิงรับ
1.มาตรการเชิงรุก
มี กลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นอายุ 10- 20 ปี โดยแบ่งกลุ่มวัยรุ่นในระบบที่มีโรงเรียนคอยดูแลได้และเด็กวัยรุ่นนอกระบบ คลินิกวัยรุ่นในโรงเรียนซึ่งปัจจุบันมีโรงเรียนนำร่องอยู่ในโครงการอยู่แล้ว ประมาณ 10 โรงเรียน เป็นต้นแบบเพื่อกระจายสู่ทั่วประเทศในภายภาคหน้านี้ ซึ่งมีกุมารแพทย์ที่ดูแลวัยรุ่นครูและเยาวชนแกนนำ ช่วยในการคัดกรองรายบุคคล พร้อมกับการสร้างทักษะself esteem , life skill และ เพศศึกษา ซึ่งสามารถกำหนดเป็นหลักสูตรพร้อม ๆ ไปกับ การสร้างสื่อที่ดีในทักษะที่กล่าวมาเพื่อความครอบคลุมของกลุ่มเป้าหมายได้ดี ขึ้น

2. มาตรการเชิงรับ
2.1 กรณีที่ท้องไม่พร้อมระบบของคลินิกวัยรุ่นในโรงพยาบาลที่มีกุมารแพทย์ สูติแพทย์ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาให้การดูแลต่อ ซึ่งขณะนี้มีระบบของกระทรวงสาธารณสุขใน OSCC (One Stop Crisis Center) อยู่ 20 จังหวัดซึ่งสามารถดำเนินการนำร่องได้เลย และหากเด็กวัยรุ่นที่คลอดลูกแล้วบ้านพักฉุกเฉินของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี สหทัยมูลนิธิรวมทั้งระบบ OSCC น่าจะเป็นระบบที่ช่วยเหลือได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การอาศัยเครื่องมือคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสทอดทิ้งเด็กหรือทำร้ายลูก เพื่อให้การช่วยเหลือและติดตาม และการสร้างระบบ Youth campus ให้มีกิจกรรมที่หลากหลายฝึกอาชีพ ฝึกทักษะต่าง ๆ หรืออาจมีระบบครอบครัวร่วมกับเครือข่ายในการอาสามารับดูแลในรูปแบบ foster family
2.2 การพัฒนา ศูนย์ hotline ของ กระทรวงการพัฒนาความมั่นคงและสังคมของมนุษย์ คือหมายเลข 1300,1507 ให้มีศักยภาพในการให้การปรึกษา และจึงค่อยกระจายไปตามเครือข่ายต่างๆ ตามความจำเป็น ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมทางจิตวิทยา ปรึกษาแนะนำในภาวะวิกฤต โดยในขณะนี้ยังขาดบุคลากรอย่างมาก ทั้งที่ มีตัวตนแต่ขาดตำแหน่ง เช่น นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์
2.3 การเพิ่มบ้านพักฉุกเฉินที่มากขึ้นโดยไม่ซับซ้อนมากเกินไป กระจายตามพื้นที่ทั่วประเทศ บ้านพักฉุกเฉินของสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี เป็นต้นแบบเพื่อเรียนรู้การวางระบบการให้ความช่วยเหลือไว้เป็นอย่างดี

3. การผลักดันด้านนโยบาย โดยสามารถนำเสนอได้ 3 รูปแบบ
3.1 เสนอผ่านคณะกรรมาธิการของรัฐสภามีอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบและติดตามการ ปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมทั้งผลักดันให้มีการสนับสนุนงบประมาณได้ด้วย
3.2 เสนอผ่าน กระทรวงโดยเฉพาะกระทรวง พม. แต่มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องด้วย คือ สาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการโดยทำเอกสารครบถ้วนแล้วแถลงสื่อมวลชน และเปิดผนึกมอบให้รัฐมนตรี เพื่อให้สัมฤทธิ์ผล
3.3 ภาคเอกชน ซึ่งขณะนี้ มูลนิธิซิเมนต์ไทย พร้อมที่จะให้การสนับสนุนงานของวัยรุ่น เช่น hotline , บ้านหลังเรียนการสร้างและนำเสนอสื่อในด้านบวก หรือ teens tip เป็นต้น
ภาค เอกชนทาง บริษัท อลูโก้ โดย คุณ ประสงค์ แสงทองสุข เสนอข้อคิดเห็นในการสนับสนุนงานของศูนย์ประสานงานในแง่งบประมาณที่จะให้มี ความสม่ำเสมอในระยะยาวต่อไปได้ด้วย

4. การประชาสัมพันธ์ งานที่ทำและแนวทางแก้ปัญหาผ่านทางสื่อต่าง ๆ อาศัยหลาย ๆ สื่อไม่ว่าจะเป็น ทีวี , แม็คกาซีน , หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

แผนภูมิแสดงการทำงานศูนย์พิทักษ์รักษ์ (ชีวิต) เด็ก
ศูนย์พิทักษ์รักษ์ (ชีวิต) เด็ก
(และช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม)

บุคลากร: ทีมสหวิชาชีพ
ภายใต้สังกัด:
จุดประสงค์หลัก
1. ป้องกันการทอดทิ้งและทารุณกรรมเด็กทารกแรกเกิด
2. ป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยและไร้ความรับผิดชอบ
3. ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม

การทำงาน 1. เชิงรุก – จัดตั้งทีมวิทยากรอบรมวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยง เพื่อ
1.1 SEARCH AND RESCUE หญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม (SAR)
1.2 PREVENT : การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและการมีเพศสัมพันธ์ที่ไมปลอดภัย

2. เชิงรับ
2.1 ศูนย์ HOT LINE
2.2 จัดตั้งหน่วยรองรับคอยให้บริการคำปรึกษาแนะนำ และแก้ไขปัญหารวมทั้งการประสานงานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สิ่งที่ควรเร่งดำเนินการ – ประชาสัมพันธ์หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ (บทบาทของสื่อมวลชน?)
– จัดทีมวิทยากรเพื่อทำงานเชิงรุก
– ประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้เป็น UNITY

สาระเนื้อหาที่ให้แก่กลุ่มเสี่ยง
1. หน้าที่ของวัยรุ่น และความคาดหวังของสังคม
2. ความรัก VS ความใคร่ , การประเมินความรัก
3. ผลเสียของการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น
4. ทักษะการหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น
5. การคุมกำเนิดฉุกเฉิน
6. การปฏิบัติตัวเมื่อประจำเดือนขาด
7. จิตสำนึกของ “แม่”และ พ่อ
8. ทางออก สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม
9. รายชื่อหน่วยงานที่สามารถขอความช่วยเหลือ

แผนผังการทำงาน
1. บุคลากร : แพทย์ , จิตแพทย์ เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์, นักสังคมสงเคราะห์ นักกฎหมาย, สื่อมวลชน
2. ทีมวิทยากรที่พร้อมทำงานเชิงรุก
3. ศูนย์ HOTLINE
4. หน่วยรองรับคอยให้บริการคำปรึกษาและแนะนำ รวมทั้งการประสานงานส่งต่อ
5. OPD นรีเวช
6. บ้านพักฉุกเฉิน
7. การประสานงานด้านการแพทย์, การฝากครรภ์, การคลอด
8. การติดตาม ระยะหลังคลอด
9. การประชาสัมพันธ์

คณะกรรมการเสนอแนวทาง
ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา ภาควิชากุมารเวช โรงพยาบาลศิริราช
พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล
พญ.มาลินี บุรีรัตน์ สูตินรีแพทย์โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ
รศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ ภาควิชา กุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
คุณพรรณประภา อินทรวิทยนันท์ ประธานบริหารบ.เมจิกโปรดักชั่น(รายการจับตาสังคม นสพ.สวัสดีกรุงเทพ นิตยสาร กินรี และ Anywhere)
คุณเมทินี พงษ์เวช ผุ้อำนวยการ (สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี)
คุณประสงค์ แสงทองสุข บ.อลูโก้ (ไทยแลนด์) จก.
นพ.รัมย์ ไชยชิต แพทย์อายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพล (ผู้ประสานงาน)
นพ.สุริยเดว ทรีปาตี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (ผู้ประสานงาน)
ที่มา:นพ.สุริยเดว ทรีปาตี หัวหน้าคลินิกเพื่อนวัยทีน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
ข้อมูลจาก : www.dekplus.org

Leave a Reply