เซ็กส์ไม่ปลอดภัยตายเพียบ

เซ็กส์ไม่ปลอดภัยตายเพียบ
เซ็กส์ไม่ปลอดภัย ทำคนไทยป่วย-ตาย เป็นอันดับ1
ที่โรงแรมรามา การ์เด้นส์ แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดสัมมนา วิถีเพศ วิถีสุขภาวะ โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒ รองประธานคนที่ 2 สสส. กล่าวว่า

การ ศึกษาของกระทรวงสาธารณสุขชี้ชัดว่า เพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย คือปัจจัยเสี่ยงอันดับหนึ่งที่ทำให้คนไทยป่วย ตามด้วย บุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งปัญหาใหญ่ที่สุดคือ เอดส์ แม้ไทยจะพ้นวิกฤติแล้ว แต่ปัญหายังไม่หมด กลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดช่วง 10-20 ปี ที่ผ่านมา ปี 2533 กลุ่มเสี่ยงคือผู้ชายที่ซื้อบริการทางเพศ ปี 2543 คือกลุ่มแม่บ้านที่ติดจากสามี และคาดการณ์ว่า ปี 2553 กลุ่มเสี่ยงมากที่สุด คือ กลุ่มชายรักชาย

ความเปลี่ยนแปลงนี้เกิด จากพฤติกรรม และลักษณะทางสังคมที่เปลี่ยนไป มีสิ่งยั่วยุดึงเข้าสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย แต่ทัศนคติเรื่องเพศของสังคมไทยไม่เคยเปลี่ยน ไม่เคยส่งเสริมให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีทางเพศ สสส.โดยแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศ จึงมียุทธศาสตร์จะรื้อค่านิยมทางเพศ เน้นการให้ความรู้ความเข้าใจ ประสาน 3 ฝ่าย คือ สร้างและจัดการความรู้ การเคลื่อนไหวทางสังคม และขับเคลื่อนนโยบาย แม้เป็นงานที่ท้าทาย เพราะเรื่องเพศเป็นประเด็นร้อนเหมือนการเล่นกับไฟ แต่นี่คือปัจจัยสำคัญที่จะป้องกันแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริงนพ.วิชัย กล่าว

น.ส.ญาณาธร เจียรรัตนกุล ผู้วิจัยเรื่อง คำถามยอดฮิตในคอลัมน์ถามตอบเรื่องเพศ กล่าวว่า
การ ศึกษาคำถามตอบ จากคอลัมน์ตอบปัญหาทางเพศในสื่อย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี 2546-2550 ในสื่อ 3 ประเภท 6 สื่อ คือ 1.หนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ 2.นิตยสาร 2 เล่ม 3.อินเตอร์เน็ต 2 เว็ปไซต์ พบเพศหญิงจะสอบถามปัญหามากกว่าเพศชาย ทั้งนี้รวมคำถามได้ 4,409 ข้อ

คำถามที่พบมากที่สุด คือ
1.เพศสัมพันธ์ 25%
2.อนามัยเจริญพันธุ์ 18%
3.อวัยวะเพศหญิง 18%
4.ความสวยงาม 16% และ
5.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่น่าจะเป็นความรู้ที่สำคัญที่สุด กลับมีผู้ถามเพียง 5% เท่านั้น

คำถามที่เพศหญิงถามมากที่สุด 5 กลุ่มแรก คือ
1.อวัยวะเพศหญิง เช่น ประจำเดือน ตกขาว มีกลิ่น
2.อนามัยเจริญพันธุ์ วิธีการคุมกำเนิด แบบไหนท้องไม่ท้อง หลั่งข้างนอกจะท้องหรือไม่
3.ความสวยงาม เช่น อ้วน-ผอม ดำ-ขาว
4.เพศสัมพันธ์ อาทิ ความต้องการมากหรือน้อยไป เรื่องจุดสุดยอด ท่วงท่าในการร่วมเพศ
5.สังคมวัฒนธรรม เช่น พรหมจรรย์ วิธีปฏิเสธไม่อยากมีเพศสัมพันธ์

ส่วนกลุ่มคำถามที่เพศชายถามมากที่สุด 4 กลุ่มแรก คือ
1.เพศสัมพันธ์ เช่น สมรรถภาพและความต้องการ
2.อวัยวะเพศชาย ขนาดใหญ่หรือเล็ก การฝังมุก การขลิบ และรูปร่าง
3.โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4.การช่วยตัวเองแค่ไหนจึงเหมาะสมน.ส.ญาณาธร กล่าว

น.ส.ญาณธร กล่าวอีกว่า
การ สอบถามปัญหาเพศผ่านสื่อเท่าที่ปราฏหลักฐาน เริ่มในนิตยสารตั้งแต่ปี 2431 หรือ 120 ปี ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันแนวคำถามยังคล้ายเดิม สะท้อนว่าประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพียงพอ ทั้งที่ส่วนใหญ่เป็นความรู้พื้นฐาน ที่จะป้องกันตนเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และผู้ที่เข้ามาสื่อสารผ่านสื่อเป็นเพศหญิงมากกว่าชาย แสดงว่าเพศชายมีพื้นที่สื่อสารเรื่องเพศมากกว่าหญิง เพศหญิงจึงต้องแอบซ่อนหาความรู้ผ่านสื่อ เพราะไม่ต้องแสดงตัวตน ซึ่งสังคมต้องร่วมกันทบทวนวิธีการให้ความรู้ความเข้าใจที่เพียงพอ ที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง.
ที่มา http://blog.eduzones.com/rangsit

Leave a Reply